เมนู

โดยธรรม จึงตรัส คำว่า "ตตฺถ กตโม โกโธ" ซึ่งแปลว่า ความ
โกรธในข้อนั้น เป็นไฉน ? ดังนี้เป็นต้น.
แม้ในนิเทศแห่งอุปนาหีบุคคล บุคคลผู้ผูกโกรธ เป็นต้นก็นัยนี้
เหมือนกัน. คำเป็นต้นว่า "โกโธ กุชฺฌนา" มีเนื้อความที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว
ในหนหลังนั่นแล. คำเป็นต้นว่า "โกโธ" มีเนื้อความที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว
ในกาลก่อนในอุปนาหีนิเทศเป็นต้นเหมือนกัน.
สองบทว่า "อยํ โกโธ อปฺปหีโน" ความว่า ยังละไม่ได้ด้วย
วิกขัมภนปหาน หรือด้วยตทังคปหาน หรือด้วยสมุจเฉทปหาน. แม้ใน
บุคคลผู้ผูกโกรธเป็นต้นข้างหน้า ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
[59] 1.

มักขีบุคคล

บุคคลผู้มักลบลู่บุญคุณ เป็นไฉน ?

ความลบหลู่ ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่
ภาวะที่ลบหลู่ ความไม่เห็นคุณของผู้อื่น การกระทำที่ไม่เห็นคุณของผู้อื่น นี้
เรียกว่า ความลบหลู่ ความลบหลู่นี้ อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียก
ว่า ผู้มักลบลู่บุญคุณของผู้อื่น.
2.

ปลาสีบุคคล

บุคคลผู้ตีเสมอ เป็นไฉน ?

การตีเสมอ ในข้อนั้น เป็นไฉน การตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ ภาวะที่
ตีเสมอ ธรรมเป็นอาหารแห่งการตีเสมอ ฐานแห่งวิวาท การถือเป็นคู่ว่าเท่า
เทียมกัน การไม่สละคืน อันใด นี้เรียกว่า การตีเสมอ การตีเสมอนี้ อัน
บุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ตีเสมอ.

[60] 1. อิสสุกีบุคคล บุคคลผู้มีความริษยา เป็นไฉน ?
ความริษยา ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะที่
ริษยา ความไม่ยินดีด้วย ภาวะที่ไม่ยินดีด้วยในลาภสักการะ ความเคารพความ
นับถือ การไหว้ การบูชาของผู้อื่น อันใด นี้เรียกว่า ความริษยา ก็ความ
ริษยานี้ อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีความริษยา.
2. มัจฉรีบุคคล บุคคลผู้มีความตระหนี่ เป็นไฉน ?
ความตระหนี่ ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ความตระหนี่มี 5 อย่าง คือ
ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม
ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความอยากไปต่าง ๆ ความเหนียว
แน่น ความตระหนี่ถี่เหนียว ความที่จิตไม่เผื่อแผ่ อันใด เห็นปานนี้ นี้เรียก
ว่า ความตระหนี่ ความตระหนี่นี้ อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้มีความตระหนี่.
[61] 1. สถบุคคล บุคคลผู้โอ้อวด เป็นไฉน ?
ความโอ้อวด ในข้อนั้น เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น
ผู้อวด เป็นผู้โอ้อวด ความโอ้อวด ภาวะที่โอ้อวด กิริยาที่โอ้อวด ภาวะที่
แข็งกระด้าง กิริยาที่แข็งกระด้าง ความพูดยกตน กิริยาที่พูดยกตน อันใด
ในข้อนั้น นี้เรียกว่า ความโอ้อวด ความโอ้อวดนี้ อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้โอ้อวด.

2. มายาวีบุคคล บุคคลผู้มีมายา เป็นไฉน ?
มายาในข้อนั้น เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริต
ด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจแล้ว เพราะเหตุจะ
ปกปิดทุจริตนั้น จึงตั้งความปรารถนาอันลามก ปรารถนาว่า ใครอย่ารู้เรา ดำริ
ว่า ใคร ๆ อย่ารู้เรา พูดว่า ใคร ๆ อย่ารู้เรา. พยายามด้วยกายว่าใครๆ อย่า
รู้เรา มายา ภาวะที่มีมายา ความวางท่า ความหลอกลวง ความตลบตะแลง
ความมีเล่ห์เหลี่ยม ความทำให้ลุ่มหลง ความซ่อน ความอำพราง ความผิด
ความปกปิด การไม่ทำให้เข้าใจง่าย การไม่ทำให้จะแจ้ง การปิดบัง กิริยาลามก
เห็นปานนี้ อันใด นี้เรียกว่า มายา มายานี้ อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว
บุคคลนี้เรียกว่า มีมายา.
[62] 1. อหิริกบุคคล บุคคลผู้ไม่มีหิริ เป็นไฉน ?
ความไม่มีหิริ ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ธรรมชาติใด ไม่ละอายสิ่งที่
ควรละอาย ไม่ละอายการถึงพร้อมแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศล นี้เรียกว่า
ความไม่มีหิริ บุคคลประกอบแล้วด้วยความไม่มีหิรินี้ เรียกว่า ผู้ไม่มีหิริ.
2. อโนตตัปปีบุคคล บุคคลผู้ไม่มีโอตตัปปะ เป็น
ไฉน ?

ความไม่มีโอตตัปปะ ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ธรรมชาติใดไม่กลัวสิ่ง
ที่ควรกลัว ไม่กลัวการถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศล นี้เรียกว่า ความ
ไม่มีโอตตัปปะ บุคคลประกอบแล้วด้วยความไม่มีโอตตัปปะ นี้ชื่อว่า ผู้ไม่
มีโอตตัปปะ.

[63] 1. ทุพพจบุคคล บุคคลผู้ว่ายาก เป็นไฉน ?
ความเป็นผู้ว่ายาก ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ความเป็นผู้ว่ายาก กิริยา
ที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ถือเอาโดยปฏิกูล ความเป็นผู้
ยินดีโดยความเป็นข้าศึก ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ
ความไม่เชื่อฟัง ในเมื่อสหธรรมมิก ว่ากล่าวอยู่นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ว่ายาก
บุคคลประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้ว่ายากนี้ ชื่อว่า ผู้ว่ายาก.
2. ปาปมิตตบุคคล บุคคลผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน ?
ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ในข้อนั้น เป็นไฉน ? บุคคลเหล่านั้นใด เป็น
ผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีลมีสุตะน้อย เป็นผู้ตระหนี่ มีปัญญาทราม การเสวนะ
การเข้าไปเสวนะ การซ่องเสพ การคบ การคบหา การภักดีด้วย ความเป็น
ผู้คบหาสมาคมกับบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว
บุคคลประกอบด้วยความเป็นผู้มีมิตรชั่วนี้ ชื่อว่า ผู้มีมิตรชั่ว.

[64] 1. อินทริยาคุตตทวารบุคคล บุคคลผู้มีทวารอันไม่
คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน ?

ความเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ในข้อนั้น
เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยตา เป็นผู้ถือเอาซึ่งนิมิต เป็น
ผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คืออภิชฌา และโทมนัส
พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือ จักษุนี้อยู่ เพราะการไม่สำรวม
อินทรีย์ คือ จักษุใด เป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ คือจักษุ

นั้น ย่อมไม่รักษาอินทรีย์ คือ จักษุ ย่อมไม่ถึงความสำรวมในอินทรีย์ คือ
จักษุ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ถือเอาซึ่งนิมิต เป็น
ผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส
พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ใจใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติ
เพื่อสำรวมอินทรีย์ คือ ใจนั้น ย่อมไม่รักษาอินทรีย์ คือ ใจ ย่อมไม่ถึงความ
สำรวมอินทรีย์ คือ ใจ การไม่คุ้มครอง การไม่ปกครอง การไม่รักษา การไม่
สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 เหล่านั้นอันใด นี้ชื่อว่า ความเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครอง
แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยความเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครอง
แล้วในอินทรีย์ทั้งหลายนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้วใน
อินทรีย์ทั้งหลาย.

2. โภชเนอมัตตัญญูบุคคล บุคคลผู้ไม่รู้จักประ-
มาณในโภชนะ เป็นไฉน ?

ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะในข้อนั้น เป็นไฉน ? บุคคล
บางคนในโลกนี้ไม่พิจารณาแล้ว โดยแยบคาย บริโภคซึ่งอาหารเพื่อเล่น เพื่อ
มัวเมา เพื่อประดับ เพื่อตกแต่ง ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ความเป็นผู้ไม่รู้จัก
ประมาณในโภชนะนั้น ความไม่พิจารณาในโภชนะอันใด นี้เรียกว่า ความ
เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ไม่รู้จัก
ประมาณในโภชนะนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ.
[65] 1. มุฏฐัสสติบุคคล บุคคลผู้มีสติหลง เป็นไฉน ?
ความเป็นผู้มีสติหลง ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ความระลึกไม่ได้ ความ
ตามระลึกไม่ได้ ความกลับระลึกไม่ได้ ความไม่มีสติ ความระลึกไม่ได้ ความ

ทรงจำไม่ได้ ความหลงไหล ความฟั่นเฟือน อันใด นี้เรียกว่า ความเป็น
ผู้มีสติหลง บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีสติหลงนี้ ชื่อว่า ผู้มีสติหลง.
2. อสัมปชานบุคคล บุคคลผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็น
ไฉน ?

อสัมปชัญญะ ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความ
ไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้ตาม ความไม่พร้อม ความไม่แทงตลอด ความไม่รับ
ทราบ ความไม่กำหนดลงทราบ ความไม่เพ่งเล็ง ความไม่พิจารณา ไม่ทำ
ให้แจ่มแจ้ง ความเป็นผู้ทรามปัญญา ความเป็นผู้เขลา ความหลงทั่ว ความ
หลงพร้อม ความโง่ โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา
ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้
ไม่มีสัมปชัญญะ บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะนี้ ชื่อว่า
ผู้ไม่มีสมัปชัญญะ.
[66] 1. สีลวิปันนบุคคล บุคคลผู้มีศีลวิบัติ เป็นไฉน ?
ศีลวิบัติ ในข้อนั้น เป็นไฉน ? การล่วงละเมิดทางกาย การล่วง
ละเมิดทางวาจา การล่วงละเมิดทั้งทางกายและวาจา นี้เรียกว่าศีลวิบัติ
ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดชื่อว่าศีลวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยศีลวิบัตินี้ ชื่อว่า
ผู้มี ศีลวิบัติ.
2. ทิฏฐิวิปันนบุคคล บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน ?
ทิฏฐิวิบัติ ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ทิฏฐิความเห็นไปว่า ทานที่ให้ไม่มี
ผล การบูชาใหญ่ (คือมหาทานที่ทั่วไปแก่คนทั้งปวง) ไม่มีผล สักการะที่บุคคล
ทำเพื่อแขก ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้า
ไม่มี มารดาและบิดาไม่มี อุปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้พร้อมเพรียงกัน

ผู้ประพฤติดีและปฏิบัติชอบ ที่รู้ยิ่งแล้วซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้ว
ประกาศทำให้แจ้งในโลกนี้ไม่มีดังนี้ มีอย่างนี้เป็นรูปอันใด ทิฏฐิ ความเห็นไป
ข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นข้าศึกความดิ้นรนเพราะ
ทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความเกี่ยวเกาะ ความยึดมั่นการยึด
ถือความปฏิบัติผิด บรรดาผิด ทางผิด ภาวะที่เป็นผิด ลัทธิเป็นแดนเสื่อม
ความยึดถือ การแสวงหาผิด อันใด มีลักษณะอย่างนี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ
มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินี้ ชื่อว่า
ผู้มีทิฏฐิวิบัติ.
[67] 1. อัชฌัตตสัญโญชนบุคคล บุคคลผู้มีสัญโญชน์ภาย
ใน เป็นไฉน ?

โอรัมภาคิยสัญโญชน์ 5 อันบุคคลใดยังละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียก
ว่า ผู้มีสัญโญชน์ภายใน.
2. พหิทธาสัญโญชนบุคคล บุคคลผู้มีสัญโญชน์ภาย
นอก เป็นไฉน ?

อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ 5 อันบุคคลใดยังละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้มีสัญโญชน์ภายนอก.

อรรถกถาอหิริกบุคคล คือ ผู้ไม่มีหิริ เป็นต้น


พึงทราบวินิจฉัยในอหิริกนิเทศต่อไป.
สองบทว่า "อิมินา อหิริเกน" ความว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม คือ
ความไม่ละอายนี้ อันมีประการอย่างนี้. แม้ในคำเป็นต้นว่า "อโนตฺตปฺเปน"
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.